วันพุธที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2554

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน

                                                        

การจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ
                   1.  การนำมาประยุกต์ใช้งาน  จะต้องคำนึงถึงผลที่จะได้รับและผลกระทบที่จะเกิดขึ้นตามมาด้วย
                   2.  การวางแผนที่ดี   เพื่อเลือกใช้เทคโนโลยีสารสนเทศให้เหมาะสมกับงานและเพื่อประโยชน์สูงสุดที่ควรจะได้รับ
                   3.  มาตรฐานการใช้งาน  ควรจะมีเจ้าหน้าที่ควมคุมดูแล  ไม่ปล่อยปละละเลยหรือใช้ในทางที่ผิด
                   4.  การลงทุน ควรคำนึงถึงงบประมาณและผลประโยชน์ที่ได้รับด้วย  หากประโยชน์ที่ได้ไม่คุ้มค่าแก่การลงทุนก็ควรที่จะปรับแผนการเสียใหม่
                   5.  การจัดการข้อมูล ต้องระมัดระวังไม่ให้ข้อมูลซ้ำซ้อน  ควรมีการแบ่งปันข้อมูํลเพื่อให้การทำงานร่วมกัน  มีการติดต่อสร้างความสัมพันธ์กัน
                   6.  การรักษาความปลอดภัยของระบบ  การใช้เทคโนโลยีร่วมกัน  ต้องมีการดูแลให้สิทธิแก่ผู้ใช้ภายในขอบเขตของแต่ละคน

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน

วันที่ 2 ก.ย. ที่ จ.นครราชสีมา นายสุรวุฒิ เชิดชัย นายกเทศบาลนคร นครราชสีมา กล่าวภายหลังเสร็จภารกิจการการเป็นประธานในพิธีเปิดการฝึกอบรมการพัฒนาทางวิชาการ กลุ่มการศึกษาท้องถิ่นที่11 “การจัดการเรียนรู้ที่เน้นทักษะกระบวนการคิด ” โดยมีบุคลากรของสถานศึกษาที่สังกัดสำนักงานเทศบาลในเขตนครชัยบุรินทร์ (นครราชสีมา-ชัยภูมิ-บุรีรัมย์-สุรินทร์ ) จำนวน 150 คน เข้าร่วมกิจกรรม ว่า คณะผู้บริหารเทศบาลนคร ฯ ได้จัดสรรงบประมาณส่วนหนึ่งเพื่อสนองนโยบายการศึกษาของรัฐบาล ที่มุ่งเน้นการนำเทคโนโลยี แท็บเล็ตมาประยุกต์ใช้ในการเรียน การสอน โดยจะเริ่มแจกแท็บเล็ต จำนวน 120เครื่อง ให้กับโรงเรียนในสังกัดเทศบาลนครนคร ฯ ทั้งหมด 6 แห่ง ในช่วงเปิดภาคเรียนที่ 2 ของปีการศึกษา 2554


การแจกแท็บเล็ตนั้นไม่ได้แจกให้กับเด็กนักเรียนโดยตรง เพื่อป้องกันเด็กนำไปใช้ในทางที่ผิด โดยจะแจกให้กับโรงเรียนๆ ละ 20 เครื่อง เพื่อให้บุคลากรตั้งแต่ระดับผู้บริหารจนถึงระดับครูผู้สอน และเจ้าหน้าที่ทุกฝ่ายได้มีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่อย่างแทปเล็ต ก่อนที่จะนำไปสอนให้กับนักเรียนต่อไป


คณะผู้บริหาร เล็งเห็น ประโยชน์ของแท็บเล็ต เสมือนห้องคอมพิวเตอร์ที่เด็ก ๆ อาจจะเริ่มตั้งแต่ชั้นอนุบาลขึ้นไปจะต้องเรียนรู้และต้องศึกษาเกี่ยวกับเทคโนโลยีสมัยใหม่นี้เพื่อให้ทันต่อเทคโนโลยีที่ก้าวล้ำในยุคปัจจุบันนี้และในอนาคตเราอาจจะได้สอนเด็กนักเรียนระดับชั้นอนุบาลเขียน ก.ไก่บนแท็บเล็ตนี้เลยก็ได้ หรือระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สามารถคิดคำนวณสูตรเคมี และเขียนสูตรเคมีบนแท็บเล็ตนี้ได้ แต่จะต้องมีการพัฒนาซอฟแวร์หรือโปรแกรมก่อน นอกจากนี้ครูผู้สอนยังสามารถดาวน์โหลดหนังสือหรือใช้แท็บเล็ตเป็นสื่อการเรียนการสอนอีกทางหนึ่งที่จะให้เด็กนักเรียนสามารถเรียนรู้และศึกษาเนื้อหาความรู้ในรายวิชาต่างๆ (ข่าวสดออนไลน์)

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน











การเรียนการสอนก็เหมือนกับธุรกิจทั่วไปที่ต้องปรับตัวให้ทันกับการแข่งขัน  ปัจจุบันมีแหล่งความรู้เกิดขึ้นมากมาย  มีสิ่งที่จะต้องเรียนต้องสอนมหาศาล  ทำอย่างไรจึงจะลงทุนทางด้านการศึกษาน้อยแต่ได้ผลตอบแทนสูง การเพิ่มผลผลิตและประสิทธิภาพการเรียนรู้จะทำได้อย่างไร  การเรียนรู้สมัยใหม่ต้องใช้เวลาน้อย  เรียนรู้ได้เร็ว  มีการใช้ประโยชน์จากทรัพยากรต่าง ๆ ร่วมกัน  รวมถึงการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างกันด้วย ความก้าวหน้าของเทคโนโลยีในปัจจุบันตอบสนองต่อการประยุกต์เข้ากับการเรียนการสอนได้เป็นอย่างดี

การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสนเทศกับการเรียนการสอน

                                                  





                                                        



  ปัจจุบันเป็นที่ยอมรับแล้วว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology หรือ IT) ได้เจริญก้าวหน้าไปอย่างรวดเร็ว และมีบทบาทสำคัญในด้านต่างๆ อย่างกว้างขวาง ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ อุตสาหกรรม การบริการสังคม สาธารณสุข สิ่งแวดล้อม รวมทั้งด้านการศึกษา ซึ่งการมีบทบาทสำคัญนี้อาจกล่าวได้ว่า เทคโนโลยีสารสนเทศ หรือไอทีนั้นเปรียบเหมือนเครื่องจักรที่สามารถรองรับข้อมูลข่าวสารมาทำการประมวลผล และการแสดงผลตามที่ต้องการได้รวดเร็ว โดยอาศัยองค์ประกอบอื่นๆ ช่วยในการจัดการ ได้แก่ โปรแกรมปฏิบัติการ โปรแกรมชุดคำสั่งต่างๆ และที่สำคัญคือ ผู้ที่จะตัดสินใจหรือสั่งการให้ทำงานได้ถูกต้องตามเป้าหมาย ซึ่งได้แก่ บุคคลที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ใช้ ผู้บริหาร และผู้ชำนาญการ หรือนักเทคโนโลยีสารสนเทศโดยตรง รัฐบาลไทยในปัจจุบันได้ให้ความสำคัญ เล็งเห็นประโยชน์และคุณค่าของเทคโนโลยีสารสนเทศที่มีต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และคุณภาพชีวิตของประชาชนมากยิ่งขึ้น โดยใน พ.ศ. 2535 ได้แต่งตั้ง “คณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ” ขึ้น โดยระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศและให้มีรองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบด้านการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเป็นประธาน มีคณะกรรมการประกอบด้วย ผู้บริหารระดับสูง และผู้ทรงคุณวุฒิทั้งภาครัฐบาลและเอกชน และได้มอบหมายให้ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ซึ่งเป็นหน่วยงานในสังกัดสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ กระทรวงวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม ทำหน้าที่เป็นสำนักงานเลขานุการของคณะกรรมการฯ มีหน้าที่เสนอแนะนโยบายและแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศต่อคณะรัฐมนตรี ทั้งในเรื่องการพัฒนาบุคลากรด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ การสร้างบรรยากาศ ให้มีการนำเทคโนโลยีสารสนเทศเข้ามาใช้ในการดำเนินงานด้านต่างๆ สำนักงานเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมการพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศ ได้จัดทำแผนพัฒนาเทคโนโลยีสารสนเทศแห่งชาติ และคณะอนุกรรมการเฉพาะกิจ เพื่อส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในหน่วยงานของรัฐ ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้อนุมัติในหลักการและการดำเนินการตามแผนดังกล่าวโดยแบ่งเป็น 4 ช่วงได้แก่
          ช่วงที่ 1 : การมีการใช้คอมพิวเตอร์ในงานทั่วไป (พ.ศ. 2536-2538)
          ช่วงที่ 2 : การใช้คอมพิวเตอร์เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงาน (พ.ศ. 2536-2539)
          ช่วงที่ 3 : การแลกเปลี่ยนข้อมูลระหว่างหน่วยงานด้านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (พ.ศ. 2537-2540)
          ช่วงที่ 4 : การใช้คอมพิวเตอร์เต็มรูปแบบ (พ.ศ. 2540 เป็นต้น)